องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
1. องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่นำมาประกอบกันแล้วจะได้คอมพิวเตอร์ที่สมบูรณ์ 1 เครื่อง ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญหลายส่วน ดังนี้1.1 กล่องซีพียู (Case) เป็นองค์ประกอบคอมพิวเตอร์ที่สำคัญมาก ภายในบรรจุแผงเมนบอร์ดแหล่งจ่ายไฟ และหน่วยความจำต่างๆ เช่น รอม แรม ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ และซีดีรอมเป็นต้น ที่เรียกว่ากล่องซีพียู เพราะภายในเครื่อง บรเวณแผงเมนบอร์ด เป็นที่ติดตั้งซีพียู (CPU) ซึ่งถือว่าเป็นมันสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์
1.2 แป้นพิมพ์ (Keyboard) คือ อุประกรณ์ที่ใช่ในการพิมพ์ข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้หน่วยประมวลผลข้อมูลกลาง (CPU) ทำการประมวลผล แป้นพิมพ์จัดเป็ยอุปกรณ์ด้านหน่วยป้อนข้อมมูล (Input Unit) ที่ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
1.3 เมาส์ (Mouse) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการคลิก ดับเบิ้ลคลิก และเลื่อนตำแหน่งเพื่อสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ในกรณีที่ไม่สามารถสั่งงานทางแป้นพิมพ์ได้ เมาส์จัดเป็นอุปกรณ์ด้านหน่วยป้อนข้อมูลเช่นเดียวกับแป้นพิมพ์แต่ใช้งานในลักษณะที่แตกต่างกัน
1.4 จอภาพ (Monitor) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลข้อมุลที่ผ่านการประมวลผลของซีพียู เพื่อทำให้ผู้ใช้มองเห็นผลลัพธ์และสามารถติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ จอภาพจัดเป็นอุปกรณ์ด้านหน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูล
1.5 ลำโพง (Speaker) คืออุปรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นสัญญาณเสียงและแสดงเสียงออกทางลำโพงทำให้ผู้ใช้ได้ยินสัญญาณเสียงในแบบต่างๆ เช่น เสียงเพลง และเสียงพูดต่างๆ ลำโพงจัดอุปกรณ์ได้หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูล
2.ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) คือองค์ประกอบที่จะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ถ้าขาดองค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ระบบของคอมพิวเตอร์นี้ประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักที่สำคัญ 4 ประการ คือ
2.1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาป่าวและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึงสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงานได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Proessing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่ทำงานแตกต่างกัน
2.2 ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้น เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์ ก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น
2.2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software) คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานไกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งานซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปรคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Codol, C เป็นต้น นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวตสอบระบบเช่น Norton's Utilities ก็นับเป้นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
2.2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่นำมาให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น
2.3 บุคลากร (Peopleware) หมายถึง บุคลากรในด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงาน เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ต้องการ แบ่งออก ได้ 4 ระดับ ดังนี้
2.3.1 ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
2.3.2 นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรือวางใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้ที่เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
2.3.3 โปรแกรมเมอร์(Programmer) คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
2.3.4 ผู้ใช้ (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ้งต้องเรียนรู้วิธีใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการเนื่องจากเป้นผู้กำหนดโปรแกรมและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ มนุษย์จึงเป็นตัวแปรสำคัญในอันที่จะทำให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ได้รับจากการกำหนดของมนุษย์ (Peopleware) ทั้งสิ้น
2.4 ข้อมูล (Data) ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์ พร้อมกับโปรแกรมที่นักคอมพิวเตอร์เขียนขึ้น เพื่อผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี 5 ประเภท คือ ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ข้อมูลเสียง (Audio Data) ข้อมูลภาพ (Images Data) และข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น